https://lin.ee/QVxdIJx
หน้าหลัก > บทความ > ทฤษฏีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี=เหลือง-แดง-น้ำเงิน
ทฤษฏีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี=เหลือง-แดง-น้ำเงิน
ทฤษฏีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี=เหลือง-แดง-น้ำเงิน
28 Apr, 2020 / By admin
Images/Blog/CnImDDnT-จับคู่สี 600x800.png

ทฤษฏีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี=เหลือง-แดง-น้ำเงิน

คำอธิบาย: https://www.fa.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2018/06/pexels-photo-542556-e1504368177816.jpeg

  วิชาศิลปะที่ทุกคนต้องเคยได้เรียน ทฤษฎีการจับคู่สีเบื้องต้นนั่นคือ แม่สี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน เมื่อเอาไปผสมกันจะได้สีต่างๆ ออกมา และเชื่อว่าหลายคนน่าจะลืมไปแล้ว วันนี้เรามารื้อฟื้นความหลังกันนะคะ .. หมายเหตุเล็กๆ ว่า สีสันของผู้หญิงกับผู้ชายนั้นยังมองเห็นต่างกันอีกนิดหน่อย ดูที่ตอนท้ายๆ ค่ะ

ทฤษฏีการจับคู่สี (Color wheel)

สีแดง+สีเหลือง = สีส้ม
แดง+น้ำเงิน = ม่วง
เหลือง + น้ำเงิน = เขียว

สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง

แดง + เขียว = น้ำตาล
น้ำเงิน
+ ส้ม = น้ำตาล
แดง
+ ขาว = ชมพู
น้ำเงิน
+ ขาว = ฟ้า

คำอธิบาย: ทฤษฏีการจับคู่สี

ที่เป็นวัตถุ (pigment) แบ่งออกเป็น

แม่สี-สีขั้นต้น

1. แม่สี หรือสีขั้นต้น (primary colours) มี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้ง 3 สี เป็นสีที่ไม่สามารถผสมขึ้นมาได้ แต่สามารถผสมเข้าด้วยกันเป็นสีอื่น ๆ ได้

สีขั้นที่ 2 นำแม่สีมาผสมกัน

2. สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้

– สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว
สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง

สีขั้นที่ 3

3. สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน

สีกลาง

4. สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ

วงล้อสี (colour wheel)

วงล้อสี (colour wheel)

 

จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ 

– วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง)

– วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง)

สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย

คู่สี (complementary colours)

คู่สี (complementary colours)

 

สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้

– ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ

– การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ

– ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensity) ของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง

สีข้างเคียง (analogous colours)

สีข้างเคียง (analogous colours)

 

เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน

การใช้สี

**การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast)

การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast)

 

การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้งาน แต่ละลักษณะ การใช้สีให้ดูกลมกลืนมากเกินไปก็จะจืดชืด น่าเบื่อ แต่ถ้าใช้สีตัดกันมากเกินไปก็จะเกิดการขัดแย้งสับสนได้ : ที่มา อาจารย์โสภัทร นาสวัสดิ์ ความหมายของศิลปะ (Art)

การจับคู่สี

– สีเดียวไล่น้ำหนัก (MONOTONE) คือ การใช้คู่สีที่เป็นเฉดเดียวกัน แต่มีความเข้มอ่อนต่างกัน เช่น สีน้ำเงินเข้ม คู่กับ สีน้ำเงินอ่อน เป็นต้น

– สีใกล้กัน (HARMONY) คือ การใช้คู่สีที่มีเฉดใกล้เคียงกัน เช่น สีน้ำเงิน คู่ สีเขียวอมน้ำเงิน และสีเขียว เป็นต้น

– สามสีเยื้องกันเป็นตัว Y (TRIADS) คือ การใช้คู่สี 3 เฉด ที่เป็นคู่สีแยกตรงข้าม (เป็นสีที่อยู่แยกไปทางซ้ายและขวาของสีตรงข้ามเป็นรูปตัว Y) เช่น สีส้มอมแดง/สีน้ำเงิน/สีเขียว เป็นต้น

– สีตรงกันข้าม (CONTRAST) คือ จับคู่โดยใช้สีเฉดที่อยู่ตรงข้ามกัน เช่น สีเขียวอมเหลือง คู่ สีม่วงอม

คำอธิบาย: สีกับความรู้สึก

จิตวิทยาของสี (colour phychology)

จิตวิทยาของสี คือการที่สีมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ สีกับความรู้สึก

สีแดง สีแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ตื่นเต้น เร้าใจ

สีแดงอ่อน ความประณีต ความเยือกเย็น ความหวาน ความสุข

สีแดงเข้ม มีอุดมคติสูง ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์

สีชมพู สีแห่งความเป็นหนุ่มสาว สีแห่งความรัก ความมั่นใจ

สีน้ำเงิน สีแห่งความเชื่อมั่น หนักแน่น สุภาพ ถ่อมตน

สีฟ้าอ่อน สีที่าบรื่น ร่มเย็น

สีเหลือง สว่างสดใส ร่าเริง รู้สึกมีรสเปรี้ยว

สีแสด ตื่นตัวเร้าใจ สนุกสนาน

สีม่วง สีแห่งความผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น ไม่แน่นอน เศร้า

สีเขียวอ่อน สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน

สีเขียวแก่ เศร้า ชรา เบื่อหน่าย

สีดำ ทุกข์ เสียใจ

สีน้ำตาล อับทึบ

สีเทา เงียบสงัด ขรึม สุภาพ

สีต่างๆ ในสายตาของผู้ชายและผู้หญิง

คำอธิบาย: name-girl_guy_colours

How we see colors

คำอธิบาย: https://lifestyle.campus-star.com/app/uploads/2016/03/colors-e1519287180299.jpg

ภาพสองภาพนี้ ชื่อสียังไม่ตรงกันอีกด้วยนะ

 

ภาพประกอบจาก www.eventsinczech.com, todayilearned.co.uk, en.gagsar.com
ที่มา www.krungshing.com

คำอธิบาย: https://lifestyle.campus-star.com/app/uploads/2017/02/sco.jpg

Credit : by Nichapon Palacop

           : https://www.fa.rmutt.ac.th/?p=1133

           : ru.freepik.com 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.