https://lin.ee/QVxdIJx
หน้าหลัก > บทความ > แนวคิดการของเติมหมึก
แนวคิดการของเติมหมึก
แนวคิดการของเติมหมึก
02 Apr, 2020 / By admin
Images/Blog/Gcy1AMKT-refill ink.png

แนวคิดของการเติมหมึก

     การเติมหมึกนั้น แม้จะไม่ง่ายเหมือนการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ก็ไม่ยากจนเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจ

 

    การเติมหมึก เป็นกิจกรรมที่ยังมีความสับสนกันอยู่มากในหมู่ผู้ใช้พรินเตอร์  โดยวัตถุประสงค์หลักแล้ว  ก็เพื่อความประหยัด แต่ได้คุณภาพของงานพิมพ์ที่ใกล้เคียงของแท้  ปัจจุบันพรินเตอร์รุ่นเล็กสุดมีราคาใกล้เคียงกับการซื้อตลับใหม่ทั้งชุด  ดังนั้นการเติมหมึกจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  เพราะหากเราเติมหมึกประสบความสำเร็จสักครั้งสองครั้ง  แล้วพรินเตอร์เสียต้องซื้อใหม่  ก็ถือว่าคุ้มแล้ว  เมื่อเทียบกับการซื้อตลับของแท้มาใช้ทุกครั้งที่หมึกหมด

ยกตัวอย่าง  พรินเตอร์รุ่นเล็กตัวหนึ่งราคา 1,600 บาท มาพร้อมกับตลับแท้สีดำ 1 ตลับ  ตลับแท้สามสี (ฟ้า แดง เหลือง)  อีก 1 ตลับ  สมมุติว่าหมึกใกล้จะหมดพร้อมกันทั้งสองตลับ  ก็ถอดตลับนำไปเติมตามร้าน  เสียค่าเติมสองตลับประมาณ 350 บาท  เติมไปได้ 2 ครั้ง ปรากฏว่าพรินเตอร์เสีย (เรื่องสมมุตินะ  ความจริงมักเติมได้มากกว่านี้)  คำนวณแล้วเราเสียค่าใช้จ่าย 1,600 + 350 + 350 + เครื่องใหม่ 1,600  =  3,900 บาท  เราจะเหลือเครื่องใหม่ 1 ตัว ตลับใหม่ 1 ชุด ตลับเก่าอีก 1 ชุด  ถ้าใช้หมึกแท้ สมมุติหมึกแท้ราคาชุดละ 1,400 บาท  จะเสียค่าใช้จ่าย 1,600 + 1,400 + 1,400 =  4,400 บาท  จะเหลือเครื่องเพียงอย่างเดียว ถ้าจะใช้ต่อต้องซื้อตลับใหม่อีก 1 ชุด ราคา 1,400 บาท  (ตัวอย่างนี้เราไม่ได้พิจารณาคุณภาพของงาน  เราต้องให้ความเป็นธรรมกับตลับแท้ด้วย  เพราะคุณภาพงานที่ได้จากตลับแท้  ย่อมดีกว่าไม่มากก็น้อย)

หลักการกว้างๆ ในการเติมหมึกก็คล้ายกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์   เราเติมน้ำมันก่อนที่น้ำมันจะหมด  เช่นกันการเติมหมึกก็ควรเติมก่อนที่หมึกจะหมด  เราจะไม่จอดรถยนต์ทิ้งไว้นานๆเป็นเดือน เพราะกลัวว่าจะสตาร์ทไม่ติด  เราก็ไม่ควรทิ้งพรินเตอร์ไว้นานๆโดยไม่ใช้งาน เพราะหมึกจะแห้ง  หัวพิมพ์จะอุดตัน   แต่ข้อแตกต่างคือ  การเติมหมึกอาจใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  ซึ่งผู้เติมหมึกต้องศึกษาวิธีการมาพอสมควร  และต้องรู้จักแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

ความหมาย

การเติมหมึกคือการนำตลับหมึกของแท้ หรือตลับหมึกเทียบเท่าที่ใช้จนหมึกหมดแล้ว  มาเติมน้ำหมึกเพื่อให้ใช้ได้ต่อไป  เพื่อความประหยัด

เติมได้กี่ครั้ง

ไม่แน่นอน  จนกว่าตลับจะเสีย หรือจนกว่างานพิมพ์จะมีคุณภาพต่ำจนรับไม่ได้  ทั้งนี้ตลับจะเสียเร็วหรือช้า  ขึ้นกับอายุการใช้งานที่ออกแบบมา  คุณภาพเฉพาะตัวของตลับนั้น  วิธีการเติม  วิธีการใช้งาน  คุณภาพของน้ำหมึกที่ใช้เติม  ฯลฯ เอชพีริเริ่มโครงการรีไซเคิลตลับหมึกครบวงจร และคืนชีวิตให้กับขวดน้ำพลาสติก

ต้องเปิดใจให้กว้าง  พยายามเข้าใจถึงสัจธรรมว่าตลับหมึกถูกออกแบบ และผลิตมาจากผู้ผลิตพรินเตอร์  ให้ใช้งานตลับหมึกนั้นๆเพียงครั้งเดียว  ดังนั้นการที่ตลับหมึกเสียหาย  ไม่ว่าจะเป็นวงจร(หน้าสัมผัส)  หัวพิมพ์  หรือฟองน้ำภายใน   ควรถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ  บางคนใช้งานตลับหมึกมานานกว่า 1 ปี  พอตลับเสียก็โวยวาย  ขายขี้หน้าเปล่าๆ  สมัยนี้มีสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก  ต้องพยายามทำความเข้าใจ  โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งนั้น

สรรพสิ่งในโลกมีเกิด  มีความผันแปร  และในที่สุดก็ดับสลาย  เราไม่สามารถตอบได้ว่าคนเราจะมีอายุขัยสักกี่ปีฉันใด  ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเติมหมึกได้สักกี่ครั้งฉันนั้น

 

 

เติมตอนไหน

เติมก่อนที่หมึกจะหมด  หรืออย่างช้าทันทีที่หมึกหมด  ยิ่งปล่อยให้หมึกหมดนานเท่าไร  โอกาสที่จะเติมได้สำเร็จก็ยิ่งน้อยลงคำถามที่พบบ่อยก็คือ  จะรู้ได้อย่างไรว่าหมึกใกล้จะหมด   คำตอบก็คือพรินเตอร์บางรุ่นจะมีซอฟท์แวร์บอกระดับหมึกเวลาสั่งพิมพ์  ซึ่งเป็นเพียงการประมาณเท่านั้น  และซอฟท์แวร์มักจะเตือนช้ากว่าความเป็นจริง  ดังนั้นจึงควรเติมเมื่อระดับหมึกตามซอฟท์แวร์เหลือประมาณ 30 %  พรินเตอร์บางรุ่นพอเติมหมึกแล้ว ก็ยังเตือนหมึกเหลือน้อย  ไม่ต้องตกใจ  ถ้ายังพิมพ์งานได้  เพราะซอฟท์แวร์มันถูกเขียนมาไม่ให้ยอมรับหมึกเติม  แต่มันก็ยังใจดีให้ใช้งานต่อไปได้

 หมึกหมดนานแล้ว เติมได้หรือไม่

ควรให้ร้านเติมหมึกลองเติมดู   และควรตกลงค่าบริการกันไว้ก่อนด้วยว่าถ้าใช้งานได้คิดเท่าไร  ถ้าใช้ไม่ได้คิดเท่าไร (โดยทั่วไปไม่คิด)  เพราะทางร้านจะมีน้ำยา และเครื่องมือพิเศษ  รวมทั้งพรินเตอร์สำหรับทดสอบ   ควรเลือกร้านที่มีอุปกรณ์พวกนี้ด้วย  ร้านที่มีเพียงขวดหมึกกับเข็มฉีดยามักแก้ปัญหาไม่ค่อยได้

การปล่อยให้หมึกหมดนานๆเป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่ง  แม้ว่าจะมีหมึกอยู่ก็ไม่ควรทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ใช้งาน  ตรงนี้เป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้การเติมหมึกล้มเหลว

เติมแล้วจะมีปัญหาต่อพรินเตอร์หรือไม่

            มีแต่พอยอมรับได้ 

            ที่ว่าจะมีปัญหาได้แก่  (1) พรินเตอร์ที่ยังมีประกันอยู่ จะหมดประกันทันที  (2) ฟองน้ำซับหมึกของพรินเตอร์บางยี่ห้อ  จะเต็มเร็วกว่าการใช้หมึกแท้ (ฟองน้ำซับหมึกถ้าเต็มแล้ว จะใช้งานต่อไปไม่ได้  ต้องเปลี่ยนฟองน้ำและใช้ซอฟท์แวร์เคลียร์เคาน์เตอร์) สำหรับยี่ห้อ HP และ LEXMARK  จะไม่มีปัญหานี้  (3) คุณภาพของงานพิมพ์ด้อยกว่าหมึกแท้ไม่มากก็น้อย

            ที่ว่าพอยอมรับได้  เนื่องจากการเติมหมึกและการใช้งานที่ถูกต้อง  มีผลเสียต่อพรินเตอร์น้อยมาก  และการเติมหมึกเป็นความประหยัด  คุ้มที่จะเสี่ยง  เพราะราคาพรินเตอร์ใหม่ถูกลงมาก  ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น

ใช้หมึกเติมยี่ห้อไหนดี

            หมึกเติมคือหมึกไม่แท้  หมึกเติมของแท้ไม่มี  แต่หมึกเติมมีหลากหลายยี่ห้อ  หลากหลายคุณภาพ   หลายราคา  ตั้งแต่ซีซี.ละ 1 บาท  ไปจนถึงซีซี.ละ 10 บาท  ควรหาข้อมูลให้ดี  เพราะหมึก “โนเนม”  บางยี่ห้อตั้งราคาขายไว้สูง  เพื่อสร้างความรู้สึกและกระแสว่าเป็นหมึกที่ดี

            เท่าที่สังเกตพบจากการเติมหมึก  หมึกถูกหรือหมึกแพงเป็นปัจจัยที่ควรพิจารณาทีหลัง  เพราะปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การเติมหมึกแล้วใช้งานได้ดีในระยะยาว  ก็คือ  การใช้งานบ่อยๆ

วิธีการใช้งานพรินเตอร์ INKJET

1.  ใช้งานบ่อยๆ  ถ้าเป็นหมึกแท้ ใช้ทุกระยะ 15-20 วัน  แต่ถ้าเป็นหมึกเติม ใช้ทุกระยะ 3-5 วัน  ให้ทดสอบงานพิมพ์ทั้ง 4 สี คือ ดำ ฟ้า แดง และ เหลือง  ว่าออกครบหรือไม่  ถ้ามีปัญหาแม้แต่สีเดียวต้องรีบแก้ไข  การแก้ไขแต่เนิ่นๆ จะง่ายกว่า

2.  เติมหมึก หรือส่งร้านเติมหมึกก่อนที่หมึกจะหมด  หรือเร็วที่สุดหลังจากหมึกหมด  หากส่งร้านเติมหมึก  ควรขนย้ายตลับหมึกด้วยความระมัดระวัง  อย่าให้ตกหล่นหรือกระทบกระเทือน  ใส่ถุงพลาสติกถุงละ 1 ตลับ  การใส่รวมกันอาจทำให้กระทบกระแทกกันจนเกิดความเสียหายไม่ควรห่อด้วยกระดาษทิชชู่  เพราะจะซับเอาหมึกออกมาหมด

3.                  เติมหมึกแล้วนำตลับหมึกเข้าเครื่องพรินเตอร์ให้เร็วที่สุด  และลองใช้งานทันที  เพราะหากเห็นว่าเกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้ทัน  ร้านเติมหมึกบางร้านมีการรับประกันคืนเงินกรณีใช้งานไม่ได้ (ภายในกำหนดกี่วันแล้วแต่จะตกลงกัน) 

4.  ตลับหมึกควรอยู่ในเครื่องพรินเตอร์ ไม่แนะนำให้มีตลับสำรอง  เพราะการมีตลับสำรองอาจทำให้ตลับที่ไม่อยู่ในเครื่องเกิดอุดตันได้   ควรตรวจสภาพความพร้อมใช้งานด้วยการพิมพ์ทดสอบ และตรวจระดับหมึกบ่อยๆ จะดีกว่า 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.